บทความ น่าอ่าน
หัวข้อที่ดี วันเวลา...ของชีวิตที่เหลืออยู่คนเราเกิดมาอาจจะไม่มีความเท่าเทียมกันในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นฐานะความเป็นอยู่ โอกาสในชีวิต ตลอดจนรูปร่างลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะตน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนได้เท่าเทียมกัน คือเวลา ปัญหาอยู่ที่ว่าใครจะตระหนักถึงคุณค่า ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด 1 ปี = 365 วัน ถ้าคิดอายุความสามารถของร่างกายที่ 60 ปี ซึ่งเป็นอายุที่ต้องเกษียณอายุตัวเองจากการทำงาน ถ้าเราเริ่มทำงานที่อายุ 21 ปี คนเราจะมีเวลาทำงานประมาณ 14,600 วัน หรือ 2,080 สัปดาห์ และถ้าเราใช้เวลาพักผ่อนไป 1/3 ของวัน (8 ชั่วโมง/วัน) ในระยะเวลา 40 ปี เราจะใช้เวลาพักผ่อนไปถึง 4,867 วัน เหลือเวลาทำสิ่งต่าง ๆ เพียง 9,733 วัน คนเราไม่ได้คิดว่าสักวันหนึ่ง ชีวิตจะสิ้นสุดลง จึงปล่อยโอกาสอันดีงามให้ผ่านไปอย่างไม่แยแส ในวัยหนุ่มสาวที่แข็งแรงกลับปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ ในเวลาเรียนที่มีค่าอย่างมากกับอนาคตของตนเอง กลับมองออกไปนอกหน้าต่าง สร้างวิมานในอากาศปล่อยให้คำสอนของครูอาจารย์ เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา ในช่วงเวลาที่ควรค่าแก่การพักผ่อน กลับเที่ยวเตร่จนดึกดื่น หรือดื่มจนเมามาย แล้วตื่นขึ้นมาปวดหัวหรือตื่นสายในวันรุ่งขึ้นหมดแรงที่จะคิดสร้างสรรค์ผลงานจวบจนแก่ชรา อายุมากขึ้น ภาพอดีตความหลังที่ผ่านมาย้อนให้คิดคำนึงแม้จะพยายามไขว่คว้า กาลเวลาที่ผ่านไปก็ไม่อาจหวนคืน คนเราเกิดมาทุกคนกำลังเดินทางไปสู่จุดสุดท้ายของชีวิต นั่นคือจะต้องจากโลกนี้ไปอย่างแน่นอน จะเร็วหรือช้าเท่านั้น ไม่มีใครหนีพ้นกฎของธรรมชาติข้อนี้ไปได้ คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว ก็จะเจริญเติบโตไปตามช่วงวัยต่าง ๆ ในขณะที่อายุเริ่มจะมากขึ้น ความแข็งแรง และความสามารถทางด้านร่างกายก็เริ่มลดลง โรคภัยไข้เจ็บก็จะมาเยี่ยมเยียน ซึ่งคำภีร์อินเดียโบราณแบ่งช่วงวัยและอายุไว้ดังนี้ 1.วัยแรกเกิดถึง 10 ปี เป็นวัยเดียงสา พ่อแม่ต้องฟูมฟักเลี้ยงดู ที่กล่าวมาเป็นช่วงของชีวิต ที่ทุกคนจะต้องประสบพบเจอหากมีชีวิตยืนยาวแต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่เกิดจะมีชีวิตยืนยาวเท่ากันทุกคน หลายคนต้องจากไปก่อนวัยอันควร แม้ยังอยากมีชีวิตอยู่ต่อก็ไม่สามารถที่จะร้องขอได้ เวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต เวลาที่ผ่านไปหรือสูญเสียไป จะสูญเสียตลอดกาล เพราะฉะนั้นจงใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่เกิดอะไรขึ้นมาเลย ทักคุยกันนะ เราเป็นเพื่อนเป็นที่ปรึกษาให้คุณได้ |